ลอดช่องไทย ขนมพื้นบ้านที่ใคร ๆ ก็รู้จัก ทำทานเองได้ไม่ยาก

ลอดช่องไทย ขนมพื้นบ้านที่ใคร ๆ ก็รู้จัก ทำทานเองได้ไม่ยาก

ลอดช่องไทย หากนึกถึงของหวานที่คุ้นเคยและหาทานได้ง่าย ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็หาทานได้ไม่ยาก หนึ่งในนั้นก็คงหนีไม่พ้น ลอดช่องไทย ต้องบอกว่าขนมไทยหรือของหวานไทยชนิดนี้หาทานได้ง่ายมาก ใครที่ไปเดินตลาดก็จะเห็นว่าตามร้านขายขนมหวานมักจะมีเมนูลอดช่องอยู่ด้วย อย่างไรก็ตามลอดช่องแต่ละเจ้าอาจแตกต่างกันออกไป สำหรับใครที่ชอบทานของหวานที่ให้ความสดชื่น ดูเหมือนว่าขนมชนิดนี้น่าจะตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว 

เรามาทำความรู้จักกับ ประวัติ ลอดช่องไทยโบราณ กันก่อนดีกว่า โดยขนมชนิดนี้จัดเป็นขนมพื้นบ้านที่ใช้แป้งข้าวเจ้าเป็นวัตถุดิบหลัก นับเป็นของหวานที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย เพราะไม่ได้มีแค่ ลอดช่อง ไทย เท่านั้น แต่ยังมีลอดช่องจากประเทศอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งมีจุดกำเนิดมาจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเชื่อกันว่าต้นกำเนิดคือประเทศอินโดนีเซีย และในบางครั้ง ลอดช่องไทยโบราณ ก็อาจถูกเรียกว่า “ลอดช่องสิงคโปร์” เพราะมาจากชื่อร้านสิงคโปร์โภชนาในเยาวราช กรุงเทพ ฯ นั่นเอง 

ลอดช่องไทย

ลอดช่องไทย เผยสูตร ขนมที่ใช้แป้งข้าวเจ้าเป็นวัตถุดิบหลัก

อากาศร้อน ๆ แบบเมืองไทย ถ้าได้ทานของหวานที่ให้ความรู้สึกสดชื่นก็คงจะดีไม่น้อย สำหรับใครที่อยากจะเคี้ยวแป้งนุ่ม ๆ พร้อมซดน้ำกะทิอันหอมหวานในเวลาเดียวกัน เมนูขนมหวานอย่างลอดช่องไทย ก็น่าจะตอบโจทย์ได้ดีเลยทีเดียว และวันนี้เราก็มีสูตรการทำ ลอดช่องเหนียวนุ่ม มาฝากทุกคนด้วย บอกเลยว่าเมนูนี้ทำได้ไม่ยาก สำหรับใครที่ชอบทาน ขนมไทย แบบเสิร์ฟพร้อมกับน้ำกะทิก็ไม่ควรพลาด ไปดูกันว่ามีส่วนผสมมากน้อยแค่ไหน และมีวิธีทำยังไงบ้าง

วัตถุดิบสำหรับทำ ลอดช่อง ไทย

ส่วนผสมลอดช่องสีเขียว

  1. แป้งข้าวเจ้า 70 กรัม
  2. แป้งมัน 25 กรัม
  3. แป้งถั่วเขียว 25 กรัม
  4. น้ำปูนใสใบเตย 500 กรัม

ส่วนผสมลอดช่องสีขาว

  1. แป้งข้าวเจ้า 70 กรัม
  2. แป้งมัน 25 กรัม
  3. แป้งถั่วเขียว 25 กรัม
  4. น้ำปูนใส 500 กรัม

ส่วนผสมน้ำกะทิ

  1. หัวกะทิ 450 กรัม
  2. น้ำตาลมะพร้าว 150 กรัม
  3. เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
  4. น้ำปูนใส 500 กรัม 

วิธีการทำ ลอดช่องไทยน้ำกะทิ

  1. ขั้นตอนแรกเตรียมทำตัวลอดช่อง โดยเริ่มทำตัวลอดช่องสีเขียวก่อน ใส่แป้งข้าวเจ้าลงในถ้วยผสม ตามด้วยแป้งมัน แป้งถั่วเขียว และน้ำปูนใสใบเตย จากนั้นคนให้ส่วนผสมเข้ากัน
  2. ตั้งกระทะแล้วนำส่วนผสมที่ได้ลงไปกวนด้วยไฟอ่อน ในระหว่างนี้ค่อย ๆ คนช้า ๆ เมื่อส่วนผสมเริ่มจับตัวให้เพิ่มความเร็วในการกวนมากขึ้น และถ้าเห็นว่าตัวลอดช่องเริ่มมีเงาใสแล้วก็ให้ปิดแก๊สได้เลย
  3. นำลอดช่องที่ได้เทลงในตัวบีบลอดช่อง โดยให้เตรียมน้ำเย็นจัดไว้ 1 ถ้วย จากนั้นบีบลอดช่องลงไปในถ้วยที่มีน้ำเย็นจัด แช่ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที จนกว่าตัวลอดช่องจะคลายความร้อน
  4. เมื่อลอดช่องเริ่มคลายความร้อนแล้วให้ตักขึ้นและสะเด็ดน้ำ ขั้นตอนต่อมาเตรียมทำตัวลอดช่องสีขาว โดยสัดส่วนและวิธีการทำจะเหมือนกับตัวลอดช่องสีเขียว แต่จะเปลี่ยนจากน้ำปูนใสใบเตยเป็นน้ำปูนใสธรรมดา 
  5. เตรียมทำน้ำกะทิลอดช่อง โดยตั้งกระทะแล้วใส่น้ำตาลมะพร้าวลงไป ตามด้วยเกลือป่น และหัวกะทิ ใช้ไฟกลางในการเคี่ยวจนกว่าน้ำตาลจะละลาย เมื่อน้ำกะทิเริ่มเดือดแล้วให้ปิดแก๊ส จากนั้นเทใส่ถ้วย พักไว้
  6. ตักลอดช่องทั้งสองสีใส่ในถ้วยเสิร์ฟ ราดด้วยน้ำกะทิ ถือเป็นอันเสร็จพร้อมรับประทาน โดยจะทานคู่กับน้ำแข็งและเครื่องเคียงอื่น ๆ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความชอบ

ลอดช่องไทยวิธีการทำน้ำปูนใสใบเตยสำหรับตัวลอดช่องไทย

อย่างที่เราบอกไปแล้วว่าตัวลอดช่องสีเขียวนั้นจะใช้ส่วนผสมทั้งหมด 4 อย่าง ได้แก่ แป้งข้าวเจ้า แป้งมัน แป้งถั่วเขียว และน้ำปูนใสใบเตย ซึ่งจะคล้ายกับตัวลอดช่องสีขาว แต่ต่างกันตรงที่ ขนมลอดช่อง สีขาวจะใช้น้ำปูนใสแบบธรรมดา สำหรับน้ำปูนใสใบเตยของลอดช่องไทย สีเขียวนั้นจะได้จากใบเตย 10 ใบ โดยนำมาหั่นซอยให้ละเอียดและนำไปปั่นกับน้ำปูนใส 500 กรัม เมื่อปั่นจนละเอียดแล้วให้คั้นน้ำออกมาก็จะได้น้ำปูนใสใบเตยสำหรับการทำ ของหวานไทย อย่างตัวลอดช่องสีเขียว

ลักษณะของลอดช่อง ที่แตกต่างจากลอดช่องสิงคโปร์

สำหรับ ลอดช่อง สูตรโบราณ ของไทยนั้นจะใช้แป้งข้าวเจ้าเป็นหลัก แต่ก็มีบางสูตรที่นำแป้งท้าวยายม่อมผสมเข้าไปด้วย ส่วนลอดช่องสิงคโปร์นั้น หลายคนอาจเข้าใจว่าเป็นของคนสิงคโปร์ แต่จริง ๆ แล้วเป็นสูตรที่มีจุดกำเนิดในประเทศไทย เนื่องจากร้านที่ขายมีชื่อว่า “สิงคโปร์โภชนา” นั่นเอง ซึ่งจะใช้แป้งมันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบหลัก นอกจากนี้วิธีการทำยังต่างกันกับ เมนูของหวานไทย อีกด้วย เพราะของไทยจะใช้พิมพ์หรือตัวบีบ ส่วนลอดช่องสิงคโปร์จะใช้การตัดหรือหั่นเป็นเส้นเล็ก ๆ แทน

ลอดช่องไทย ทำยังไงให้อร่อย ทานคู่กับอะไรได้บ้าง

หากจะทานแค่ ลอดช่อง กับน้ำกะทิก็คงดูธรรมดาไปหน่อย อีกทั้งอากาศร้อน ๆ แบบนี้การกินของหวานที่เย็น ๆ ก็น่าจะตอบโจทย์มากกว่า เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่าการกิน ขนมไทยโบราณ อย่างลอดช่องนั้นมีอยู่หลายแบบด้วยกัน บางคนจะใส่น้ำแข็งเข้าไปด้วยเพื่อความสดชื่น นอกจากนี้ยังสามารถทานกับเครื่องเคียงอื่น ๆ ได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นฟักทอง แตงไทย ลูกชิด เฉาก๊วย ข้าวโพด ข้าวเหนียวดำ และอื่น ๆ อีกมากมาย หากใครอยากทำเมนู ขนมไทย ง่ายๆ ลองเอาสูตรที่เราแนะนำไปใช้กันได้เลย

เครดิตเว็บไซต์ UFARICH

ท่านสามราถอ่านบทความอื่นได้ที่ lot-10